۞ وَالوالِداتُ يُرضِعنَ أَولادَهُنَّ حَولَينِ كامِلَينِ ۖ لِمَن أَرادَ أَن يُتِمَّ الرَّضاعَةَ ۚ وَعَلَى المَولودِ لَهُ رِزقُهُنَّ وَكِسوَتُهُنَّ بِالمَعروفِ ۚ لا تُكَلَّفُ نَفسٌ إِلّا وُسعَها ۚ لا تُضارَّ والِدَةٌ بِوَلَدِها وَلا مَولودٌ لَهُ بِوَلَدِهِ ۚ وَعَلَى الوارِثِ مِثلُ ذٰلِكَ ۗ فَإِن أَرادا فِصالًا عَن تَراضٍ مِنهُما وَتَشاوُرٍ فَلا جُناحَ عَلَيهِما ۗ وَإِن أَرَدتُم أَن تَستَرضِعوا أَولادَكُم فَلا جُناحَ عَلَيكُم إِذا سَلَّمتُم ما آتَيتُم بِالمَعروفِ ۗ وَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعلَموا أَنَّ اللَّهَ بِما تَعمَلونَ بَصيرٌ
และมารดาทั้งหลายนั้น จะให้นมแก่ลูก ๆ ของนางภายในสองปีเต็ม สำหรับผู้ที่ต้องการ จะให้ครบถ้วนในการให้นม และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้นคือปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครื่องนุ่งห่มของพวกนางโดยชอบธรรม ไม่มีชีวิตใดจะถูกบังคับนอกจากเท่าที่ชีวิตนั้นมีกำลังความสามารถเท่านั้น มารดาก็จงอย่าได้ก่อความเดือดร้อน(ให้แก่สามี) เนื่องด้วยลูกของนาง และพ่อเด็กก็จงอย่าได้ก่อความเดือดร้อน(ให้แก่ภรรยา) เนื่องด้วยลูกของเขา และหน้าที่ของทายาทผู้รับมรดกก็เช่นเดียวกัน แต่ถ้าทั้งสองต้องการหย่านม อันเกิดจากความพอใจ และการปรึกษาหารือกันจากทั้งสองคนแล้ว ก็ไม่มีบาปใดๆ แก่เขาทั้งสอง และหากพวกเจ้าประสงค์ที่จะให้มีแม่นมขึ้นแก่ลูก ๆ ของพวกเจ้าแล้วก็ย่อมไม่มีบาปใด ๆ แก่พวกเจ้า เมื่อพวกเจ้าได้มอบสิ่งที่พวกเจ้าให้(แก่นางเป็นค่าตอบแทน) โดยชอบธรรม และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และพึงรู้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ